รางจืด เป็นพืชสมุนไพรที่รู้จักกันดีในสรรพคุณใช้เเก้พิษและ ล้างพิษ แต่รางจืดก็มีส่วนละเอียดปลีกย่อยที่ควรรู้อีกมาก ในประเทศไทยมีพืชที่เรียกว่า ราจืด อยู่ 3 ชนิด ซึ่มีลักษณะขอต้นที่แตกต่างกัน ได้แก่
อย่างไรก็ตามรางจืดที่รู้จักกันดี คือ รางจืดเถาที่มีชื่อสามัญเป็นภาษาอังกฤษว่า laurel clock, blue trumpet vine, laurel-leaved thunbergia เป็นพืชที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Thunbergia laurifolia Lindl. อยู่ในวงศ์ Acanthaceae พืชชนิดนี้มีลักษณะเป็นไม้เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น มีเถาสีเขียวอมน้ำตาลค่อนข้างกลมโดยมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.8-1.5 เซนติเมตร และมีความยาวมากกว่า 10 เมตร เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ มีใบแทงออกเป็นใบเดี่ยวออกเป็นคู่ๆ ซ้าย-ขวา ตามข้อของลำต้น มีก้านใบยาวถึง 2-4 เซนติเมตร ใบเป็นรูปหัวใจแหลม โคนใบมน กว้าง ใบกว้างตรงกลางโคนใบอาจเว้าหรือไม่เว้า ปลายใบแหลมและมีติ่งแหลมที่ปลายขอบใบเรียบ ใบกว้าง 4-8 เซนติเมตร ยาว 5-20 เซนติเมตร ใบขนาดใหญ่จะอยู่ที่โคนเถา และค่อยๆ ลดขนาดลงตามความยาวของเถา ใบด้านบนมีสีเข้มและไม่มีขนและส่วนใต้ใบมีสีอ่อนกว่าและไม่มีขน เส้นใบยาวจากโคนใบถึงปลายใบมี 3 เส้น อยู่ที่กลางใบ 1 เส้น อีก 2 เส้นอยู่ริมใบทั้งองข้าง รางจืดจออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ดอกรางจืดออกเป็นช่อบริเวณซอกดอก ประกอบด้วยกลีบดอก 5 กลีบ สีม่วงอ่อน โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว คล้ายรูปแตร ปลายกลีบแยกเป็นแฉกออกเป็นรูปฐาน เมื่อดอกที่บานแล้วมีขนาดประมาณ 5-10 เซนติเมตร ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ 5 อัน ผลของรางจืดมีรูปทรงกลมเป็นหลอด กว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร ปลายฝักแหลมและโค้งเล็กน้อยเป็นจะงอยคล้ายปากนก ฝักอ่อนมีสีเขียวเมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลอมดำ ฝักแก่ที่แห้งเต็มที่จะปริออกเป็น 2 ซีก
ว่านพญามือเหล็ก |
ฤทธิ์การยับยั้งจุลินทรีย์ของว่านพญามือเหล็ก |
พญาว่าน |
ว่านนางคำ |
ว่านสมุนไพร ทรัพยากรที่ทรงคุณค่าของไทย 1 |
โรคของผลไม้หลังเก็บเกี่ยว |
ทำไมเปิดไฟให้ต้นไม้ |
สะแล พืชพื้นบ้านที่มากด้วยคุณค่าทางโภชนาการ |
ความสับสนในสมุนไพรวงศ์ขิง |
Internet of Things สำหรับ Smart Farmer |
บทความทั้งหมด |