โลกของเราประกอบไปด้วยแก๊สหลายชนิด บางชนิดถูกนำมาใช้ในงานอุตสาหกรรม และบางชนิดก็มีผลโดยตรงต่อสภาวะแวดล้อมการดำรงอยู่ของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ จึงต้องการวัดและควบคุมเพื่อให้แก๊สในส่วนต่าง ๆ ของกระบวนการในอุตสาหกรรมเป็นไปตามกระบวนการที่ต้องการ หรืออีกด้านหนึ่งก็ให้มีผลต่อความปลอดภัยของสรรพสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ
หลักการทำงานของระบบตรวจจับก๊าซ
ธรรมชาติของแก๊สได้ถูกค้นพบมาเป็นเวลากว่า 300 ปีแล้ว พบว่า อากาศที่ไม่มีมลภาวะที่ระดับน้ำทะเลจะมีแก๊ส (หรือธาตุ) ต่าง ๆ มากมายอยู่ในอากาศ เช่น มีก๊าซไนโตรเจน (N2) อยู่ราว 78% แก๊สออกซิเจน (O2) อยู่ประมาณ 21% ที่เหลือเป็นแก๊สอาร์กอนส่วนใหญ่ราว 1% และก็มีจำนวนของแก๊สต่าง ๆ เช่น CO2 และ H2O (ในรูปของไอน้ำ) อยู่เล็กน้อย การจัดการกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นก๊าซ มนุษย์ยังต้องหาเครื่องไม้เครื่องมือ อีกมากที่จะมาตรวจวัดชนิด และปริมาณของก๊าซในบรรยากาศ เหตุนี้เองทำให้มนุษย์หันมาพัฒนาเครื่องมือสำหรับตรวจสอบและวิเคราะห์ก๊าซขึ้น
การประยุกต์ใช้ระบบตรวจจับก๊าซ
ความน่าสนใจของระบบตรวจจับก๊าซคือ เป็นอุปกรณ์ที่นำมาประยุกต์ใช้ได้หลากหลายอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับกลิ่นไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร เครื่องดื่ม ยา สารเคมี เครื่องสำอาง น้ำหอม โดยสอดแทรกเป็นส่วนหนึ่งของตัวอย่างกระบวนการเหล่านี้
นอกจากนี้ยังนำอุปกรณ์มาประยุกต์ใช้ในเชิงสิ่งแวดล้อมอย่างการตรวจกลิ่นน้ำ หรืออากาศเสีย หรือใช้งานด้านความปลอดภัยอย่างการดมกลิ่นสารต้องห้ามและวัตถุระเบิด
Internet of Things สำหรับ Smart Farmer |
ระบบตรวจจับก๊าซ และการประยุกต์ใช้งาน |
การพัฒนาเครื่องมือวัดปริมาณแอลกอฮอล์จากลมหายใจ |
โรคของผลไม้หลังเก็บเกี่ยว |
ทำไมเปิดไฟให้ต้นไม้ |
สะแล พืชพื้นบ้านที่มากด้วยคุณค่าทางโภชนาการ |
ความสับสนในสมุนไพรวงศ์ขิง |
Internet of Things สำหรับ Smart Farmer |
บทความทั้งหมด |